วิสัยทัศน์
เป็นเลิศในการจัดการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศิลปศาสตร์ ที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและการพัฒนาประเทศ
ประวัติ
คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ เดิมชื่อ คณะวิชาศึกษาทั่วไป สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ซึ่งมีหน้าที่หลักในการรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามโครงสร้างของหลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยแผนกวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศาสตร์ และพลานามัย ต่อมาเมื่อสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ได้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พ.ศ. 2548 คณะวิชาศึกษาทั่วไปจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
1.1 ชื่อภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Computer Science
2. ชื่อปริญญา
2.1 ชื่อเต็มภาษาไทย วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
2.2 ชื่อย่อภาษาไทย วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
2.3 ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Science (Computer Science)
2.4 ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.Sc. (Computer Science)
3. วิชาเอก
ไมมี
4. จํานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ป
5.2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
5.3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทย และ/หรือนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้ดี
5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
หลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สําเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา
1) นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร
2) นักวิชาการวิทยาการคอมพิวเตอร
3) นักวเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ
4) โปรแกรมเมอร์
5) ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
6) ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
7) ผู้จัดการโครงการซอฟต้แวร์
8) ผู้ประสานงานโครงการซอฟต์แวร
9) นักพัฒนาเว็บไซต์
10) นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช์วิทยาการคอมพิวเตอร
11) ผู้ประกอบการธุรกิจซอฟต์แวร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น